สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ Office of The National Broadcasting and Telecommunications Commission
กทปส. ขอแนะนำโครงการการขยายผลระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร โดยภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับการส่งเสริมสนันสนุบเงินของ กทปส. โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสารสำหรับประโยชน์สาธารณะ รวมถึงพัฒนาแขนหุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือการทำกายภาพบำบัดเชิงกลเพื่อทดแทนเครื่องมือจากต่างประเทศและลดภาระของนักกายภาพบำบัดพร้อมการออกแบบ เพื่อให้ได้ต้นแบบตามกระบวนการตามมาตรฐาน ISO พร้อมจัดทำแผนการขยายการผลิตในระดับที่สูงขึ้น (Scale up) ให้สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) ออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจวัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เข่าและปอด เพื่อนำข้อมูลจำนวนมาวิเคราะห์ วินิจฉัย และเก็บฐานข้อมูล เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมของการทำกายภาพบำบัดแล้วนำมาติดตั้งระบบฐานข้อมูลเซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลและการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นศูนย์กลาง 2) ดำเนินงานของการพัฒนาแขนหุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือการทำกายภาพบำบัดเชิงกลเพื่อ ศึกษาอุปกรณ์ให้แรงเชิงมุม 2 แกน (2 Degree-of-Freedom) ด้วยตัวควบคุมป้อนกลับเชิงตำแหน่ง ศึกษาการวัดแรงบิด ตำแหน่งเชิงมุม ความเร็ว ให้ได้อย่างต่อเนื่อง ออกแบบอัลกิริทึมอัตโนมัติซึ่งสามารถประมาณแรงภายนอกและสามารถตัดสินใจออกแรงช่วยเหลือหรือสร้างแรงต้าน พร้อมออกแบบระบบเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายเพื่อรับข้อมูลแผนการฝึกสำหรับใช้ในการตั้งค่าการทำงานของเครื่องมือและส่งรายงานข้อมูลการฝึกกายภาพไปยังศูนย์ข้อมูล ออกแบบส่วนเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่น (API) เพื่อพัฒนาต่อยอดในอนาคต 3) ดำเนินการของการจัดทำแผนการขยายการผลิตในระดับที่สูงขึ้น (Scale up) เพื่อสามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ดังกล่าว ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในโรงพยาบาล และสถานีอนามัย หรือศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา สามารถทำกายภาพบำบัดได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ด้วยอุปกรณ์ที่วิจัยและพัฒนาขึ้นตามมาตรฐาน IEC ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนบุคคลทั่วไป ผู้ใช้สามารถทำกายภาพบำบัดได้อย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ส่งผลให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและยังสามารถเปรียบเทียบผลการทำกายภาพได้ด้วยตัวเอง แพทย์หรือผู้ดูแลสามารถติดตามความคืบหน้าและให้คำปรึกษาในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร อีกทั้งผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับความสะดวกในการดำรงชีวิต ขณะทำการรักษา ซึ่งหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับทำกายภาพบำบัดนี้ เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ตามวัฎจักรของธุรกิจสุขภาพ 4.0