กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for Public Interest

ข่าวสาร 12 พฤศจิกายน 2563
กทปส.จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำร่องทดสอบประสิทธิภาพนวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

Cr. TV Online Trangchannel

https://www.youtube.com/watch?v=6qlrkdGa6cg&feature=youtu.be

            กทปส.จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำร่องทดสอบประสิทธิภาพนวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ที่แรก โรงพยาบาลตรังและยังนำเทคโนโลยีที่ใช้กับการตรวจผู้ป่วยต้องสงสัย โควิด-19 โดยแพทย์สามารถพูดคุยและให้ผู้ป่วยต้องสงสัยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการตรวจวัดความดัน การเต้นของหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยของแพทย์ได้โดยไม่ต้องเข้าไปตรวจ ณ ห้องพุทธรักษา ชั้น 5โรงพยาบาลตรัง แถลงข่าวเปิด ระบบติดตามช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทำกายภาพบำบัด “ระบบฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ตามหลักอนาโตมี วิเคราะห์ผลกายภาพ
           โดยมีนายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ,นพ.สมบัติ สธนเสาวภาคย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรัง รศ.ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ ซึ่งในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอันดับสูงสุดอย่างเต็มตัวแล้ว จากการคาดการณ์การเติบโตของประชาชนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ภายในปี 2578 และสิ่งที่ตามมา ก็คือโรคภัยไข้เจ็บที่ของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคกลุ่มกระดูกและข้อ และโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ดังนั้นจึงส่งผลกระทบ ต่อนักกายภาพที่ต้องมีภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทั้งนี้ทาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงคิด นวัตกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ตามหลักกายภาพ เพื่อแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ และการขาดแคลนนักกายภาพบำบัดในอนาคต นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และ โทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า กทปส. เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ที่เอื้อต่อการรักษาและการดูแลผู้ป่วยได้โดยสะดวกและ รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องการทำกายภาพบำบัดหรือผู้สูงอายุที่อยู่ ห่างไกลจากโรงพยาบาลหรือไม่สะดวกที่จะเดินทางมายังโรงพยาบาลสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายดังกล่าวโดยการใช้เทคโนโลยีผ่านระบบสื่อสารได้เพื่อลดภาระงานของนักกายภาพบำบัดอีกทั้งยังสามารถติดตามช่วยเหลือผู้ทำกายภาพบำบัดและผู้สูงอายุโดยที่ผู้สูงอายุสามารถทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้องด้วยตนเองหรือศูนย์ส่งเสริมสุขภาพใกล้บ้านผ่านการจัดสรรงบประมาณ แก่นักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พัฒนาอุปกรณ์ช่วยบริการข้อเข่าภายใต้โครงการการขยาย ผล ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่าน เครือข่ายสื่อสารสำหรับประโยชน์สาธารณะ
            ด้าน รศ.ดร. ธนิตเฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์โดยภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้ดำเนินการโครงการวิจัยต่อเนื่องเรื่องการขยายผลระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัด ผ่านเครือข่ายสื่อสารสำหรับประโยชน์สาธารณะซึ่งได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจาก กทปส. เพื่อนำไปพัฒนาระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสารสำหรับประโยชน์สาธารณะเพื่อสนับสนุนให้ก่อประโยชน์ทั้งในด้านการเรียนการสอนที่ได้รับ รองจากสภาวิศวกรรมในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและทีมสหวิทยาการที่จะบูรณาการการประยุกต์ใช้งาน (Use Case) ถ่ายทอดเทคโนโลยีได้แก่โรงพยาบาลชุมชนหน่วยงานรัฐรัฐวิสาหกิจและผู้ประกอบการเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นรูปประธรรมในวงกว้าง
            โดยทาง คณะวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาระบบและอุปกรณ์กายภาพบำบัดทั้งหมด 4 ชนิดดังนี้
1. นวัตกรรมบริหารหัวไหล่ระบบประมวลผล ภาพสำหรับการวัดองศาของการเคลื่อนไหวข้อไหล่เพื่อใช้ในผู้ที่มีปัญหาข้อไหล่ติดหัวไหล่
2. นวัตกรรมฝึกการขยายปอดระบบประมวลผลภาพสำหรับติดตามการทำกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูปริมาตรปอด
3. นวัตกรรมบริหารกล้ามเนื้อหัวใจระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยบริหารกล้ามเนื้อหายใจ
4.นวัตกรรมบริหารข้อเข่าระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วย บริหารข้อเข่าโดยระบบและอุปกรณ์ทั้งหมดจะทำการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ Server และ Cloud Server ผ่านเครือข่ายสื่อสารซึ่งเป็นการออกแบบพัฒนาและผลิตอุปกรณ์ต้นแบบทั้ง 4 ชนิด ให้ได้มาตรฐานสากลตามมาตรฐาน ISO 13485 และ IEC 60601 และเป็นประโยชน์ในระดับประเทศต่อไป