กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for Public Interest

ข่าวสาร 5 กรกฎาคม 2562
กทปส. ขอนำเสนอโครงการ µTherm-FaceSense : Non-contact Facial Temperature Sensing System

กทปส. ขอนำเสนอโครงการ µTherm-FaceSense : Non-contact Facial Temperature Sensing System หรือภาษาไทยเรียกว่าระบบตรวจวัดอุณหภูมิใบหน้าแบบไม่สัมผัสทีละหลายบุคคลและการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร โดยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PTL) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนเงินจาก กทปส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันต้นแบบ µTherm Comfort หรือระบบคัดกรองบุคคลที่มีอุณหภูมิสูงแบบไม่สัมผัสได้หลายบุคคลพร้อมกันอย่างแม่นยำ เพื่อให้ได้ข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารระบบ IoT ให้แก่ผู้ตรวจวัด  ผู้ให้บริการ หรือหน่วยงานรวมถึงธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิง ออกประกาศเตือน การป้องกัน การดูแลเบื้องต้น การเชื่อมต่อสถานพยาบาล บริการขนส่ง บริเวณใกล้เคียง ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหรือโรคที่เกิดจากการเสียสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย โดยการต่อยอดจากผลงานเดิมนำมาพัฒนาให้เป็นระบบใหม่ที่ชื่อว่า µTherm-FaceSense ระบบตรวจวัดอุณหภูมิใบหน้าแบบไม่สัมผัสทีละหลายบุคคลพร้อมกันอย่างแม่นยำด้วยกล่องควบคุมตัวแปรสภาพแวดล้อมที่มีระบบสมองกลฝังตัว เพื่อบันทึกข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลภายในตัวเครื่อง ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร (µTherm-FaceSense) เชื่อมต่อและส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (3G/4G หรือ Wi-Fi) โดยจะนำระบบนี้ไปทดสอบและใช้งานจริงในสถานที่ที่มีคนจำนวนมากหรือแออัดรวมถึงสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น เรือนจำหรือทัณฑสถาน โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน สถานที่จัดแสดงสินค้ามหกรรม และโรงภาพยนตร์ เป็นต้น

เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ดังกล่าว ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) นำระบบ µTherm-FaceSense ไปติดตั้งตรวจวัดอุณหภูมิใบหน้าแบบไม่สัมผัสทีละหลายบุคคลพร้อมกันให้เชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เนทไร้สาย จำนวน 30 ระบบ เพื่อใช้งานในพื้นที่ที่ประชาชนหนาแน่นหรือแออัดเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายที่ผิดปกติด้วยสาเหตุต่างๆ ผ่านระบบ IoT เพื่อทำการ Forecasting ที่เกิดขึ้นในอนาคตพร้อมทั้งส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวัง เพื่อกำหนดมาตราการในการลดการแพร่กระจายของโรคติดต่อหรือการสูญเสีย และส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งานด้านบริการ ด้านซอฟต์แวร์ ด้านบริการทางการแพทย์ ด้านการขนส่ง เป็นต้น อีกทั้งเป็น Success Story งานวิจัยไทยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในเรื่องการป้องกันชีวิตและสุขภาพ และป้องกันโรคระบาดแพร่สู่สิ่งแวดล้อม