กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for Public Interest

ข่าวสาร 2 กันยายน 2562
กทปส. ขอแนะนำโครงการการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการแปลงหนังสือแบบเรียนเป็นสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการสื่อสารร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนนักปฏิบัติแบบลำดับชั้นสำหรับบุคลากรครูสายปฏิบัติการสอนในพื้

วันนี้ กทปส. ขอแนะนำโครงการการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการแปลงหนังสือแบบเรียนเป็นสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการสื่อสารร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนนักปฏิบัติแบบลำดับชั้นสำหรับบุคลากรครูสายปฏิบัติการสอนในพื้นที่ระเบียงการศึกษาห่างไกล โดยวิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งได้รับการส่งเสริมเงินจาก กทปส. โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบนวัตกรรมเฟรมเวิร์คต้นแบบในการแปลงหนังสือเรียนรายวิชาเป็นสื่อเกมดิจิทัลในรูปแบบโลกเสมือนจริง 2 มิติ พร้อมออกแบบและพัฒนาชุดโปรแกรม Template Reality World Engine ที่ใช้ในการสร้างสื่อเกมดิจิทัลพร้อมพัฒนาหลักสูตรแบบประกันผลขั้นตอนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนลูกข่ายที่มีต่อสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 1. คณะทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาทำการทดลองเก็บข้อมูลการออกแบบศึกษารายละเอียดการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย 2. ทำการทดลองเรียนบทเรียนในระหว่างเรียนมีการทดสอบและทำกิจกรรมเพื่อเก็บรวบรวมคะแนนนำไปเปรียบเทียบหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของบทเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (Pretest) กับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (Posttest) ด้วยสูตร t-test for dependent samples 4. หาคุณภาพของแบบทดสอบ 5. ทำการประเมินพร้อมเผยแพร่ผลงานวิจัย ในรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ 6. เปรียบเทียบประสิทธิภาพกลุ่มครูผู้สอนที่รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการแปลงหนังสือแบบเรียนรายวิชาเป็นสื่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับบุคลากรครูผู้สอนก่อนเข้ารับการอบรมและหลังเข้ารับการอบรม 
เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ดังกล่าว สถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะสามารถนำหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุดโปรแกรม Template Reality World Engine ไปใช้ในการสร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบการจำลองเสมือนจริง 2 มิติ ที่ได้จากการแปลงหนังสือเรียนรายวิชาเพื่อนำไปบูรณาการให้เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับชุมชนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดเก็บสื่อการเรียนและสืบค้นสื่อการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่รวมกันในเว็บเดียว นอกจากนี้ครูผู้สอน นักเรียนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าไปทบทวนบทเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาได้แสดงออกทางความคิดและตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล ทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพบุคลากรครูด้วยเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา