วันที่ 8 พ.ค. 2563 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าในที่ประชุม กสทช. วาระพิเศษได้อนุมัติงบประมาณให้สถานพยาบาลของรัฐต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มเติมเป็นรอบที่ 2 จำนวน 19 โรงพยาบาล ( 21 โครงการ) วงเงินงบประมาณรวม 200,204,007 บาท จากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โดยมีรายชื่อโครงการที่ได้รับการสนับสนุน ดังนี้
1. โครงการพัฒนาและขยายระบบบริหารรักษาพยาบาลเพื่อรองรับสถานการณ์ ไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) ของโรงพยาบาลชลบุรี วงเงิน 11,117,600 บาท
2. โครงการเพิ่มศักยภาพการให้บริการสุขภาพ เพื่อรองรับการระบาดโรคไวรัสโคนา (COVID-19) ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วงเงิน 13,840,750 บาท
3. โครงการ AIR-ICU/OR สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช วงเงิน 11,050,000 บาท
4. โครงการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 โรงบาลพระปกเกล้า ของโรงพยาบาลพระปกเกล้า วงเงิน 7,900,000 บาท
5. โครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการส่งต่อผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติรองรับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช วงเงิน 9,657,907 บาท
6. โครงการจัดทำ Negative Room เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วย COVID19 ที่มีภาวะวิกฤต ของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก วงเงิน 14,340,000 บาท
7. โครงการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ลำพูน ของโรงพยาบาลลำพูน วงเงิน 9,980,000 บาท
8. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ สู้ภัยโควิด-19 ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ วงเงิน 22,755,000 บาท
9. โครงการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรงพยาบาลสมุทรสาคร ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร วงเงิน 9,600,000 บาท
10. โครงการพัฒนาศักยภาพห้องบำบัดผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วงเงิน 5,518,800 บาท
11. โครงการพัฒนาระบบข้อมูลดูแลผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน COVID-19 ของโรคพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วงเงิน 8,840,000 บาท
12. โครงการ No-touch COVID-19 in-patient Ward ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล วงเงิน 7,790,000 บาท
13. โครงการปรับปรุงห้องปฏิบัติการแรงดันลบสำหรับการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ของศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน วงเงิน 8,946,000 บาท
14. โครงการโรงพยาบาลภาคสนามของรัฐ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วงเงิน 4,445,000 บาท
15. โครงการพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงโรค COVID-19 ด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์ชนิดที่ไม่ได้รุกล้ำเข้าในร่างกายร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ของคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณะสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วงเงิน 3,992,000 บาท
16. โครงการ Telemedical monitoring device for Covid-19 quarantine patient ของโรงพยาบาลตรัง วงเงิน 2,040,000 บาท
17. โครงการเพิ่มศักยภาพรับมือการแพร่ระบาดของโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วงเงิน 10,087,000 บาท
18. โครงการแชทบอร์ดปัญญาประดิษฐ์เพื่อการดูแลสุขภาพจิตและการช่วยเหลือด้านอารมณ์และสุขภาพจิตในภาวการณ์ระบาดของไวรัสโควิด 19 ของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วงเงิน 6,605,000 บาท
19. โครงการพัฒนาต้นแบบระบบติดตามประชาชนเพื่อการบริหารจัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วงเงิน 6,200,000 บาท
20. โครงการพัฒนาการศักยภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเพื่อรองรับสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Corona virus disease 2019 (COVID-19)) ของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ วงเงิน 12,423,950 บาท
21. โครงการ การแพทย์ฉุกเฉินและแพทย์ทางไกล ช่วยเหลือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ของโรคพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วงเงิน 13,075,000 บาท
นายฐากร กล่าวเพิ่มเติมว่า การสนับสนุนเงินให้กับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐในรอบนี้ เป็นรอบที่ 2 ต่อเนื่องจากครั้งก่อน ซึ่งขณะนี้พิจารณาคำขอรับการสนับสนุนไปแล้วจำนวน 410 คำขอ และอนุมัติเงินสนับสนุนไปแล้ว 457 ล้านบาท โดย กสทช. ยังเปิดให้โรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐสามารถส่งคำขอรับการสนับสนุนฯ ได้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 และ กสทช. จะเร่งพิจารณาคำขอและอนุมัติเงินให้กับโรงพยาบาลเพื่อใช้ต่อสู้กับภาวะวิกฤตในครั้งนี้โดยเร็ว