กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for Public Interest

ผลงานกองทุน
โครงการเสริมสร้างความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้มีความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์
ปีที่ได้รับทุน :  2558
หน่วยงาน :   สมาคมสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย)
ทุนประเภท :  รู้เท่าทันสื่อ
งบประมาณ :   20,000,000.00
ระยะเวลา :   365 วัน

วัตถุประสงค์ :  
1. เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์ของการรู้เท่าทันสื่อ
       - ขจัดปัญหาความไม่ใส่ใจของผู้บริโภคสื่อ
       - กระตุ้นความสนใจรับชมสื่อด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง
       - เปลี่ยนผู้บริโภคสื่อแบบ Passive เป็นผู้บริโภคแบบ Active โดยดึงให้ผู้บริโภคสื่อเข้ามามีส่วนร่วม (Engagement)
       - การรณรงค์สร้างความตระหนัก จำเป็นต้องใช้วิธีการรณรงค์ผ่านสื่อที่จำเป็นอย่างครอบคลุม กว้างขวาง ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่
         (1) สื่อที่น่าสนใจสูง (Impact)
         (2) มีความถี่ เพียงพอ (Frequency)
         (3) เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำ (Reach)
         (4) วางรูปแบบการเห็นสื่ออย่างเหมาะสมกับช่วงเวลา (Period)

2. เพื่อส่งเสริมความรู้ สร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อแก่ประชาชนผ่านการรับชมรายการ
       - การให้ความรู้ต้องมีลักษณะและรูปแบบที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ไม่ยัดเยียด
       - รูปแบบการนำเสนอต้องมีความถี่สูงเพียงพอ ไม่น้อยกว่าเงื่อนไขตามที่ TOR กำหนด
       - ความรู้ต้องไม่แปลกแยก ไม่ลดทอนคุณค่าด้านความคิดสร้างสรรค์ และความบันเทิง
       - ใช้การนำเสนอผ่านรายการที่ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความสนใจ และเป็นรายการที่มีเนื้อหาที่สามารถอธิบายถึงความรู้เท่าทันสื่อได้อย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ
       - แทรกซึมความรู้และทักษะในการใช้วิจารณญาณในการทำความเข้าใจเนื้อหาสื่อโดยที่ผู้รับสื่อไม่ทันรู้สึกตัวเป็นการรับความรู้ที่เป็นธรรมชาติ และไม่ถูกปฏิเสธ

3. เพื่อกระตุ้นผู้บริโภคสื่อให้นำทักษะและความรู้เท่าทันสื่อ มาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน
       โดยใช้กลยุทธ์สร้างการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะความรู้เท่าทันสื่อให้แก่ผู้บริโภคสื่อ โดยกระตุ้นกลไกการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามสำคัญ ซึ่งจำเป็นต่อการทำความเข้าใจกระบวนการ “รู้เท่าทันสื่อ” เช่น สื่อคือสิ่งที่มีการประกอบสร้างขึ้น? สื่อนี้ใครเป็นผู้ผลิต? สื่อนี้ผลิตเพื่อมุ่งหวังสิ่งใด? สื่อนี้กระตุ้นความต้องการรับชมด้วยการใช้กลวิธีใด? โดยออกแบบเนื้อหาและรูปแบบให้ผู้รับสื่อเกิดความสนใจ และตั้งคำถามกับตัวเองแบบไม่รู้ตัว ด้วยอารมณ์สนุกสนานและกระตุ้นให้เกิด Engagement Participation เช่น นำความคิดที่ได้ไปทดลองตั้งคำถามกับการรับชมสื่ออื่นๆ หรือนำไปตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบในการรับสื่ออื่นๆ ที่มีเนื้อหาต่างๆ เช่น ใช้กับการรับสื่อประเภทข่าว สื่อประเภทความบันเทิง หรืออื่นใด

4. เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกรับสื่อและใช้ประโยชน์จากสื่ออย่างมีวิจารณญาณ

5. เพื่อให้ผู้บริโภคสื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวสารข้อมูลที่เป็นเท็จโดยง่าย

6. เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อตอบโต้ โต้แย้ง เสนอความคิดเห็นต่อสาธารณะ โดยเปลี่ยนจากบทบาทผู้บริโภคสื่อฝ่ายเดียว ให้เป็นบทบาทการบริโภคสื่อและเฝ้าระวัง และแสดงความคิดเห็น ในกรณีที่พบเห็นสื่อนำเสนอสิ่งที่ไม่เหมาะสม

7. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังหรือกระบวนการมีส่วนร่วม โดยอาจเกิดจากความร่วมมือของ สำนักงาน กสทช. องค์กร ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรด้านวิชาชีพผู้ประกอบการสื่อ และปัจเจก และขยายความร่วมมือนั้นมาสู่การสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้ที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และต่อผู้บริโภค

8. เพื่อสนับสนุนและสร้างทัศนคติเชิงบวก ให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิตสื่อใส่ใจและให้ความร่วมมือผลิตสื่อที่ส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคโดยไม่จำเป็นต้องลดทอนคุณค่าความบันเทิงและความคิดสร้างสรรค์
 


ดาวน์โหลดผลงาน
รายงานฉบับสมบูรณ์