กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for Public Interest

ผลงานกองทุน
โครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานเป็นอิสระให้กับสื่อมวลชนต่างๆ ของ”ผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่/ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์
ปีที่ได้รับทุน :  2564
หน่วยงาน :   มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
ทุนประเภท :  พัฒนาบุคลากร
งบประมาณ :   9,473,850.10
ระยะเวลา :   540 วัน

วัตถุประสงค์ :   1. เพื่อสนับสนุนการจัดอบรมหลักสูตรส่งเสริมทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานได้เป็นอิสระให้กับผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่ /ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “ E-Reporter”

2. เพื่อสนับสนุนการอบรมหลักสูตรส่งเสริมผู้สื่อข่าวเรื่องการส่งเสริมผู้สื่อข่าวเรื่องการตระหนักถึงหลักทางจริยธรรมและศีลธรรมที่ควรปฏิบัติ เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่ / ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “ E-Reporter”

3. เพื่อสนับสนุนให้มีช่องทางเชื่อมโยงองค์ความรู้ ประสบการณ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ในการผลิตหรือเผยแพร่เนื้อหา การบริหารจัดการ การดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่องผ่านช่องทางสื่อสารในสื่อใหม่อย่างมีส่วนร่วมของผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่ / ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “ E-Reporter”

4. เพื่อติดตามการดำเนินการของผู้สื่อข่าว/หน่วยงานสื่อมวลชนต่าง ๆ แต่ละแห่งให้มีการจัดงาน / หลักสูตร สร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานได้เป็นอิสระ

5. เพื่อออกแบบและดำเนินการแสดงผลงานของผู้สื่อข่าว/หน่วยงานสื่อมวลชนต่าง ๆ แต่ละแห่งให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นให้สังคมเกิดความสนใจในเรื่องส่งเสริมทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานได้เป็นอิสระของผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่ / ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “ E-Reporter” ของผู้สื่อข่าว / หน่วยงานสื่อมวลชนต่าง ๆ

6. เพื่อออกแบบและประเมินผู้สื่อข่าว / หน่วยงานสื่อมวลชนต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานได้เป็นอิสระของผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่ / ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือE-Reporter” โดยการใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research)

7. เพื่อสร้างต้นกล้าในการพัฒนาความสามารถเพิ่มทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานได้เป็นอิสระให้กับสื่อมวลชนต่าง ๆ ในพื้นที่ภูมิประเทศไกล ๆ เป็นผู้สื่อข่าวที่ไม่ประจำ หรือเรียกว่าผู้สื่อข่าวอิสระ (Freelance reporter)

8. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่ / ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “ E-Reporter” และประชาชนทุก Generation ส่งเสริมผู้สื่อข่าวเรื่องการตระหนักถึงหลักทางจริยธรรมและศีลธรรมที่ควรปฏิบัติในการนำเสนอข่าว และ การเสพข่าว เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม เพราะเนื่องจากปัจจุบันการรับสื่อของคนไทยเปลี่ยนไปสนใจทาง social media มากขึ้น ซึ่งเป็นยุคที่มีการสื่อสารอย่างแพร่ขยายและมีอิทธิพลอย่างสูง

IMG_1967.JPG
IMG_1979.JPG
IMG_1983-(1).JPG
IMG_1983.JPG
IMG_1984.JPG
IMG_1992-(1).JPG
IMG_1993.JPG
IMG_1994.JPG
IMG_1997-(1).JPG

ดาวน์โหลดผลงาน
รายงานฉบับสมบูรณ์