โครงข่ายไร้สายระบุพิกัดอัจฉริยะเพื่อการติดตามเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและSAR
หน่วยงาน : สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
งบประมาณ : 6,934,800.00 บาท
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อเป็นโครงข่ายสํารองฉุกเฉินไร้สายสําหรับพื้นที่ประสบภัยสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ทําการวิจัยทดลองโครงการนี้มาระยะเวลาหนึ่งแล้วและสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนําโครงการนี้สู่สาธารณะ โดยให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จากโครงงานนี้ให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานนั้นๆ
2. เพื่อให้เกิดการพัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการมากยิ่งขึ้นสมาคมจึงมีความประสงค์ร่วมมือกับภาควิชาวิศวกรรม โทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้ามาเป็นผู้ให้คําปรึกษาช่วยวิจัยพัฒนา ด้านเทคนิคตลอดโครงงาน
3. เพื่อที่ประชาชนจะได้รับรายงานข้อมูลทางธรรมชาติที่จําเป็นจากอุปกรณ์ตรวจวัด (sensor) ในทุกพื้นที่ของประเทศหรือที่ต้องการในภูมิประเทศเฉพาะให้ตรงกับความต้องการซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชน พลเรือน หน่วยงานของรัฐในการติดตาม เฝ้าระวัง วางแผน ป้องกัน ภัยพิบัติธรรมชาติโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏเป็นข้อมูลจริงแบบ real time สื่อสารกันในรูปแบบคลื่นความถี่วิทยุย่านความถี่ VHF จึงไม่จํากัดโดยลักษณะภูมิศาสตร์ และรูปแบบที่แสดงก็เป็นแบบกราฟฟิกง่ายต่อการเข้าใจและนําไปใช้งาน ทําให้ประชาชนทุกคนได้มีโอกาสเลือกรับข้อมูลที่จําเป็นในการดําเนินชีวิตของตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
4. เพื่อให้ผู้บริหารหรือผู้บัญชาการเหตุการณ์สถานะการณ์ฉุกเฉินในปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือ สามารถติดตามและทราบสถานะใน การระบุพิกัดของทีมค้นหาช่วยเหลือได้ทั้งบุคคล รถ เครื่องบิน เรือ พาหนะต่าง ๆ และติดตามความเคลื่อนไหวได้ในทุกพื้นที่ จากทุกมุมโลกโดยผ่าน internet ซึ่งสามารถกําหนดขอบเขตหรือเส้นทางการช่วยของทีมได้แบบ real time สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตาม สถานการณ์เฉพาะหน้าโดยไม่จําเป็นต้องอยู่ในสถานการณ์นั้น
5. เพื่อสนับสนุนกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการทําฝนหลวงและการบิน สามารถติดตามและประเมินผลการปฎิบัติการทําฝนหลวงจึงเป็นสิ่งสําคัญยิ่งต่อการบริหารจัดการด้านการบิน
6. เพื่อให้เกษตรกรสามารถนําข้อมูลแบบที่จําเป็นต่าง ๆ เช่น ปริมาณนํ้าฝน ความชุ่มชื้นของดิน ระดับนํ้าในแม่นํ้าลําคลอง ความเร็วลม อุณหภูมิ รวมทั้งการเก็บข้อมูลเป็นสถิติเพื่อนํามาใช้ในการพิจารณาวางแผนในการทําการเกษตรระบบใหม่ (smart farming) หรือใช้ในการวางแผนเก็บเกี่ยวผลผลิต
ดาวน์โหลดผลงาน
แบบรายงานฉบบสมบรณ_complete.pdf