กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for Public Interest

ผลงานกองทุน
โครงการการบริการการแพทย์โดยใช้ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และเทคโนโลยี Blockchain ในกลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงาน และเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
ปีที่ได้รับทุน :  2563
หน่วยงาน :   มหาวิทยาลัยนเรศวร
ทุนประเภท :  วิจัย
งบประมาณ :   11,362,583.50 บาท
ระยะเวลา :   365 วัน

วัตถุประสงค์ :   1. เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนในรูปแบบของแฟลตฟอร์ม ได้แก่การออกแบบและพัฒนาสถาปัตยกรรมของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีบล็อกเชน และแอปพลิเคชันเพื่อการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และแอพลิเคชันเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Data) ที่ทำงานบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีบล็อกเชน สร้างต้นแบบเทคโนโลยีบล็อกเชนในระดับอุตสาหกรรม ที่เหมาะสมต่อการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

2. เพื่อนำผลงานที่ได้จากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเชิงสังคมไปใช้ในเชิงสังคมเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยการนำต้นแบบเทคโนโลยีระบบศูนย์ข้อมูลบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลเวชระเบียนของหน่วยบริการสุขภาพที่เป็นคู่สัญญาในระบบประกันสังคม และโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งการต่อยอดเพื่อสร้างต้นแบบเทคโนโลยีข้อมูล (Big Data) สำหรับวางแผนการดูแลสุขภาพแรงงานที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ให้แรงงานได้รับทราบข้อมูลสุขภาพและดูแลสุขภาพของตนเอง (Personal Health Data) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการด้านความมั่งคงปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้แรงงานโดยมุ่งเน้นที่การลดต้นทุนการจัดการข้อมูลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน แอปพลิเคชันเพื่อการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และแอปพลิเคชันเพื่อการดูแลสุขภาพบุคคล (Personal Health Data) ที่ทำงานบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีบล็อกเชน สร้างช่องทางใหม่ในการจัดการระบบสุขภาพของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อการรักษาและส่งเสริมการป้องกันโรค เกิดการลดค่าใช้จ่าย

4. เพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่พยาบาลในห้องพยาบาลของโรงงานในการขอรับการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพด้วยระบบแพทย์ในการรักษาทางไกล ช่วยให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แพทย์ และพยาบาลสามารถติดต่อสื่อสารและแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างทั่วถึง และลดขั้นตอนในการเสียเวลาเดินทางในการเดินทางไปรอรับการบริการตามโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยมารอรับบริการจำนวนมากได้อีกทางหนึ่งด้วย

5. เพื่อพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีที่มีความพร้อมต่อการขยายผลไปยังโรงงานอุตสาหกรรมระดับประเทศในอนาคต

1672976068050.jpg
1672976156994.jpg
1672976180865.jpg
1672976193144.jpg

ดาวน์โหลดผลงาน
รายงานฉบับสมบูรณ์