วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาต้นแบบในเชิงระบบสำหรับการปรึกษาทางการแพทย์ (medical consultation) ระหว่างศูนย์การแพทย์ส่วนกลางและรพ.ขนาดเล็กในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องการทางการแพทย์ (Health Need) โดยครอบคลุมการให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือการร่วมรักษา ในรูปแบบคู่ขนาน (parallel) ในเวลาเดียวกัน ในกรณีฉุกเฉินและต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะ (Emergency and Specialize) และแบบคนละเวลาในกรณีไม่ฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาล
เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของระบบการปรึกษาทางการแพทย์ ระหว่างศูนย์การแพทย์ส่วนกลางและรพ. ขนาดเล็กในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูงและหาทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม
เสนอเทคโนโลยีเพื่อรองรับกระบวนการปฏิบัติในระบบการปรึกษาทางการแพทย์ (medical consultation) เพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างชนบทและศูนย์การแพทย์ส่วนกลาง เพื่อพัฒนาการบริการทางการแพทย์และกระตุ้นให้เกิดการนำไปใช้งานจริงในอนาคต เทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วย ระบบการแพทย์ทางไกลเคลื่อนที่ (Mobile Telemedicine) ระบบจัดการแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บนคลาวส์ (Cloud-based Electronic Medical Record) ระบบจัดการความรู้ด้านการแพทย์บนคลาวส์ (Cloud-based Medical Knowledge Asset) ระบบดิจิตอลเพื่อการปรึกษาทางการแพทย์ฉุกเฉิน (Digital emergency medical consultation) และระบบการให้คำปรึกษาโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality
เสนอรูปแบบการพัฒนาคลังความรู้ทางการแพทย์ (Medical Knowledge Asset) ที่เชื่อมโยงกับระบบการปรึกษาทางการแพทย์ (medical emergency consultation) อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมบุคคลากรทางการแพทย์พยาบาล ให้มีความรู้และทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อนำผลจากการศึกษาวิจัยไปส่งเสริมการทำงานด้านบริการสุขภาพ การศึกษาและการวิจัยตามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร กับเขตสุขภาพที่ 2 และเขตสุขภาพที่ 3 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด