กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for Public Interest

ผลงานกองทุน
โครงการศึกษาแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสารรวมทั้งการสร้างแบบจำลองและระบุตำแหน่งในถ้ำ
ปีที่ได้รับทุน :  2562
หน่วยงาน :   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ทุนประเภท :  วิจัย
งบประมาณ :   11,352,187.93 บาท
ระยะเวลา :   540 วัน

วัตถุประสงค์ :   1. เพื่อศึกษาแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสารที่เหมาะสมกับการสื่อสารในถ้ำ   

          เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ คณะผู้วิจัยจะทำการออกแบบและจัดหาระบบเครื่องมือวัดสำหรับใช้ในการทดสอบการใช้คลื่นความถี่ในถ้ำ โดยใช้เครื่องมือ RF Signal Generator ย่านความถี่ 100 kHz – 3 GHz ทำหน้าที่ส่งคลื่นความถี่ในย่าน LF, MF, HF, VHF และ UHF ส่งผ่านสายอากาศที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาเฉพาะย่านความถี่ใช้งาน เพื่อส่งคลื่นความถี่เข้าไปในพื้นที่ที่กำหนดภายในถ้ำ จากนั้นใช้สายอากาศในย่านความถี่เดียวกันรับคลื่นความถี่นั้น ๆ ส่งให้กับเครื่องมือ Spectrum Analyzer เพื่อทำการวัดทดสอบและบันทึกระดับของสัญญาณและประสิทธิภาพการดีมอดูเลชั่น เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสารที่เหมาะสมกับการสื่อสารในถ้ำต่อไป

2. เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบและสร้างแบบจำลองในรูปแบบสามมิติและระบุตำแหน่งในถ้ำ

                       (1) ออกแบบเครื่องรับส่งวิทยุต้นแบบระบบซิมเพล็กซ์ (simplex) กำลังส่งเครื่องลูกข่ายไม่ต่ำกว่า 5 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในถ้ำ และเครื่องแม่ข่ายที่ถูกติดตั้งอยู่นอกถ้ำกำลังส่งไม่ต่ำกว่า 10 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง โดยใช้คลื่นความถี่ที่เหมาะสมซึ่งได้จากการศึกษาและทดสอบในข้อ 6.1

                        (2) ออกแบบสายอากาศสายอากาศต้นแบบสำหรับเครื่องส่งวิทยุแม่ข่ายและสำหรับลูกข่าย ตามคลื่นความถี่ที่เหมาะสมซึ่งได้จากการศึกษาและทดสอบในข้อ 6.1  

                        (3) ออกแบบระบบโครงข่ายสื่อสารดิจิตอลความถี่สูงกำลังส่งต่ำ (ไม่เกิน 1 วัตต์) ขนาดเล็กเหมาะสำหรับพกพาขณะปฏิบัติการในถ้ำ โดยใช้คลื่นความถี่ย่านความถี่สูงที่เหมาะสมซึ่งได้จากการศึกษาทดสอบในข้อ 6.1) สามารถติดต่อกันภายในถ้ำโดยใช้หลักการคล้ายระบบโครงข่ายเซนเซอร์ (sensors network) โดยออกแบบให้มีโหนดหลัก (backbone nodes) และโหนดผู้ใช้งาน (mobile nodes) จำนวนหนึ่งที่สามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันได้โดยใช้โทโปโลยีแบบตาข่าย (mesh topology) โดยโหนดผู้ใช้งานสามารถติดต่อถึงโหนดอื่น ๆ ได้โดยผ่านโหนดหลักที่อยู่ใกล้กันมากที่สุด และสามารถติดต่อข้ามไปยังโหนดผู้ใช้งานอื่น ๆ ที่เป็นลูกข่ายของโหนดหลักอีกโครงข่ายหนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงระหว่างโหนดหลักที่อยู่ใกล้กันแบบเป็นทอด ๆ กันไป

                        (4) ออกแบบระบบอำนวยความสะดวกสำหรับใช้ในการระบุตำแหน่งภายในถ้ำโดยใช้วิธีอ้างอิงตำแหน่งแรกจากภายนอกถ้ำ ตามด้วยการวัดทิศและระยะทางเพื่อนำมาประมวลผลหาตำแหน่งใหม่ภายในถ้ำโดยใช้ทฤษฎี Earth’s Grid Location

                       (5) ออกแบบเครื่องมือและพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อใช้ในการสร้างภาพแบบจำลองในรูปแบบสามมิติตามตำแหน่งต่าง ๆ ภายในถ้ำ

3. เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาคม และประชาชนรับทราบ

          ดำเนินการเผยแพร่ผลการศึกษาด้านการเลือกใช้คลื่นความถี่ ผลผลิตที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และตัวอย่างของภาพแบบจำลอง และเส้นทางเดินภายในถ้ำที่ได้จากการระบุตำแหน่งด้วยเครื่องมือที่ได้จากโครงการวิจัย

00638A1E-8EE9-4BEF-A082-DB237D2DC523.jpg
4F1B9A90-CD28-465D-93B4-F4BAA24E6395.jpg
570C2548-3100-4870-9A2F-75EE5706D1B7.jpg
670BB070-0A92-43D6-93BF-2F816AD02B97.jpg
89E55728-CC6C-4C1C-8C68-7894AFB365AE.jpg
8DD2475A-F66A-42BA-8AF0-5406E1A83A5E.jpg
CB748C2E-9194-48FE-A9EC-4D782D239068.jpg
CED81F27-53A5-458B-BB01-AD6328C02BAB-(1).jpg

ดาวน์โหลดผลงาน
บทนำและวัตถุประสงค์
บทที่1
บทที่2
บทที่3
บทที่4
บทที่5
บทที่6
บทที่7